Thursday, October 16, 2008

โดนฝรั่งแหกตากันอีกแล้ว - พริสซิลล่า ดันสแตน

...


สองสามวันมานี้เปิดดูทีวีช่องไหน ก็เจอแต่หน้าผู้หญิงฝรั่งคนนี้

เธอบอกว่าสามารถเข้าใจภาษาเด็กทารกได้ เธอเริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก เมื่อปี ค.ศ.2006 ด้วยการไปออกรายการของโอปราห์ วินฟรีย์ หลังจากนั้นก็ตระเวนออกรายการทีวีและบรรยายเรื่องภาษาเด็กมาแล้วทั่วโลก ล่าสุด บริษัทแป้งเด็กยี่ห้อหนึ่งดึงตัวมาเป็นพรีเซนเตอร์โฆษณา และจับเธอยัดใส่ในรายการทอล์คโชว์แทบจะทุกรายการ ในรูปแบบโฆษณาแฝง (ไม่ได้แค่แฝงหรอก มันคือโฆษณาเข้าไปในทั้งรายการเลยนั่นแหละ)

เมื่อลองค้นข้อมูลของเธอในอินเทอร์เน็ต ก็ไปเจอข้อมูลในวิกิพีเดีย

***

ขอแปลแบบคร่าวๆ เก็บความนะครับ อาจจะมีจุดผิดพลาดคลาดเคลื่อนนิดหน่อย ลองอ่านเทียบกับต้นฉบับภาษาอังกฤษดูละกัน

http://en.wikipedia.org/wiki/Dunstan_Baby_Language

Dunstan's claims have been opposed by researchers in the early language development and linguistic fields. Dunstan's hypothetical sounds are, from a linguistic perspective, informal: without being recorded in the IPA, it isn't clear what phonemes are meant by, e.g., "eai" or "rh." The sample video on the Dunstan's website shows different babies "saying" neh; but Dunstan's intuitions about the sounds produced are not a substitute for quantifiable methodology.

คำอ้างของดันสแตน (เรื่องที่ว่าเธอเข้าใจภาษาเด็กทารก) ค้านกับผลวิจัยของนักภาษาศาสตร์ทั่วไป ในมุมมองของนักภาษาศาสตร์ มองว่าเสียงที่ดันสแตนกล่าวถึง ไม่ได้ถูกบันทึกอย่างมีมาตรฐาน และฟังไม่ชัดเจนนัก มีแต่เพียงตัวดันสแตนคนเดียวเท่านั้น ที่มาคอยบอกว่าเสียงนี้ๆ จัดอยู่ในกลุ่มเสียงนี้ๆ เช่น เอะ เนะ เออ

The Research Page on Dunstan's website[3] includes no details of methodology; instead, it cites only statistics of reports from parents who trialed the theory, and those reports as of Leading Edge research in Sydney concern subjective data ("found [it] very beneficial"; "felt a greater bond"). Such reports do not speak to the accuracy of the hypothesis itself.

ในรายละเอียดการวิจัยที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของดันสแตน ไม่ได้ระบุถึงระเบียบวิธีการวิจัย มีเพียงแค่คำบอกเล่าจากบรรดาพ่อแม่ที่ได้นำทฤษฎีนี้ไปลองทำตาม แล้วตอบกลับมาว่ามันดีมาก อย่างโน้นอย่างนี้

In 2006, Stanford University requested a formal peer-review, but was rejected by Dunstan's representatives.

ในปี ค.ศ.2006 มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ขอให้ดันสแตนส่ง peer-review ไปให้ตรวจสอบ แต่ดันสแตนไม่มีส่งไปให้ (peer-review คือการวิจารณ์ผลงานวิจัย ซึ่งทำโดยนักวิชาการในแวดวงเดียวกัน ช่วยกันตรวจสอบซึ่งกันและกัน เพื่อรักษาระดับคุณภาพของงานวิจัย)

Dunstan's website states that the "language [is] shared by all babies throughout the world" [4], but beyond saying that "hundreds" of babies and "more than 400 mothers" were studied in Sydney and Chicago, it provides no specifics of how many babies were studied, in what ways, which countries they came from, nor to which adult languages they were exposed.

ในเว็บไซต์ของดันสแตนอ้างว่า ภาษาของเด็กทารกนี้เป็นภาษาที่เด็กทั้งโลกใช้ร่วมกัน แต่ข้อมูลที่เห็นในเว็บไซต์ ดูเหมือนว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จะมีเพียงเด็กประมาณร้อยคน และแม่อีกประมาณ 400 คน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในซิดนีย์และชิคาโก

Additionally, the use of the word "language" is particularly loaded; to a linguist, including those working in language acquisition, language requires a mental connection formed between sounds and meanings, as well as the ability to combine the sounds and meanings in novel ways and extend them to new situations. Even if the five sounds do correspond to certain meanings, as Dunstan reports, these sounds would seem more closely related to animal communication than proper language.

คำว่า "ภาษา" ตามหลักของวิชาภาษาศาสตร์ จะต้องมี a mental connection formed between sounds and meanings ความเชื่อมโยงระหว่างเสียงและความหมาย ซึ่งความเชื่อมโยงนี้จะต้องถูกนำไปใช้ได้อีกในสถานการณ์การสื่อสารครั้งต่อไป ในขณะที่ภาษาเด็กทารกของดันสแตน มีเพียง 5 เสียง จึงเป็นเพียงแค่การสื่อสารแบบสัตว์ ยังไม่ถือว่าเป็นภาษา

Dunstan's claims have not been published in any peer-reviewed journal.

จนถึงตอนนี้ งานวิจัยของดันสแตนยังไม่เคยถูกตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ และไม่มี peer-review

***

เรื่องนี้มันน่าตลก ก็ตรงที่พวกรายการทอล์คโชว์ของไทยเรา ที่เชิญเธอไปออกรายการ จะต้องอ้างตลอดเวลา ว่าเธอเคยไปออกรายการทีวีของโอปราห์ วินฟรีย์ มันฟังดูเหมือนกับว่า การได้ไปออกรายการทีวีรายการนี้ เป็นเครื่องชี้วัดว่าดีงาม การันตีรับรองความถูกต้อง อะไรกันนักกันหนาเนี่ยะ คนไทยเราเชื่อกันไปเป็นตุเป็นตะอีกแล้ว


...

2 comments:

Anonymous said...

เห็นด้วยเรื่องความเห่อของคนไทยนะครับ แต่ Wikipedia เองก็เป็นเว็บที่ควรจะมีข้อมูลจากเว็บไซต์แห่งอื่นๆ ช่วยยืนยันความถูกต้องอีกช่องทางหนึ่งนะครับ

Anonymous said...

เพิ่มเติมนิดนึงครับ พอดีจะขอนำบทความ "10 ปีผ่านไป กับโรงหนังมัลติเพล็กซ์ของไทย" ไปลงในบล็อกโดยให้เครดิต ในฐานะเป็นคนดูแลเว็บไซต์ "เครือข่ายคนดูหนัง" ครับ

สามารถเข้าไปดูบล็อกได้ที่นี่

thaiaudience.wordpress.com

ถ้ายินดีให้นำไปลง กรุณาติดต่อที่อีเมล์นะครับ

movieaudiencenetwork@gmail.com